18 สิงหาคม 2553

วรรณคดีการเมือง (2)

                                วรรณคดีการเมือง (2)
                นิทานมุขปาฐะ (ต่อ)     
             ส่วนฉบับทางอีสาน  ที่แพร่หลายคือ  เซียงเมี่ยง”  อักษรธรรม ๑ ผูก วัดนามึน ต.ในเมือง อ.เมือง จ. อุบลราชธานี
       เซียงเมี่ยงเป็นนิทานเจ้าปัญญาที่มีการเล่าสืบต่อกันมาเป็นสำนวนต่างๆ แล้วแพร่กระจายไปทั่วเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ เฉพาะสำนวนของภาคอีสานนั้นหลายสำนวนแต่พอสรุปเรื่องได้ว่า
       กษัตริย์องค์หนึ่งครองเมืองสียุดทิยา มเหสีประสูติพระโอรสแต่โหรทำนายว่าจะเลี้ยงยาก ต้องหาเด็กที่เกิดวันเดียวกันมาเลี้ยงด้วย จึงไปขอลูกนางคำฮางซึ่งเกิดวันเดียวกันมาเลี้ยงร่วมกัน โดยให้นางสนมเป็นคนเลี้ยง เมื่อโตขึ้นจึงถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และมีช่วงหนึ่งได้ออกบวชแล้วก็สึกออกมารับใช้กษัตริย์ต่อไป ส่วนเนื้อเรื่องที่แสดงถึงความเป็นเจ้าปัญญาของเซียงเมี่ยงนั้น มีเป็นตอนๆ เช่น
       เซียงเมี่ยงเลี้ยงน้อง   ,    เซียงเมี่ยงเก็บหมากที่ตกอยู่   ,        เซียงเมี่ยงกินข้ออ้อยจนเกิดมีปัญญาเหนือกว่าคนอื่น  ,       ลองปัญญากับสมภาร   ,        พนันกับลาวส่งเมี่ยง   ,         เซียงเมี่ยงแต่งงาน (เลือกคู่)       ให้ยาดีแก่พระราชา ,      พระราชาแกงแร้งให้เซียงเมี่ยงกิน  ,    เซียงเมี่ยงหลอกพระยาเลียขี้แร้ง   ,    พระราชาให้นางสนมออกไข่  ,    เซียงเมี่ยงติเรือนพระราชา   ,    เซียงเมี่ยงติช้างพระยา  ,         พระราชาให้ไปหาปากง่าม   ,    เซียงเมี่ยงหลอกพระยาลงหนองน้ำ  ,   พระราชาให้ไปหาผ้าลายตีนแต้ม  ,      เซียงเมี่ยงหลอกดูก้นสมภาร  ,    พระราชาสั่งให้เซียงเมี่ยงล่วงหน้าไปก่อน   ,   พระราชาสั่งให้มาก่อนไก่  ,  เซียงเมี่ยงขอที่เท่าแมวดิ้นตาย  ,    เซียงเมี่ยงขอเงินหนึ่งบาท  ,     พระราชาสั่งให้นางสนมไปอุจจาระรดเรือนเซียงเมี่ยง  ,      เจ้าต่างเมืองมาท้าชนหัวล้าน  ,    ภรรยาบอกให้เซียงเมี่ยงหาเงิน  ,     เซียงเมี่ยงทายใจเสนา ,    เซียงเมี่ยงดมตด  ,   เซียงเมี่ยงทายว่าพระราชาจะตายภายใน ๗ วัน  ,    เซียงเมี่ยงตอบปัญหากับราชครูเมืองตานี  ,    เซียงเมี่ยงแก้มือศึกเมืองปัญจานครที่เข้ามาประชิดเมือง  ,     พระราชาให้เซียงเมี่ยงไปเก็บพริก ,   เซียงเมี่ยงให้พระราชาดมตด  ,     เซียงเมี่ยงกองก้นรับเสด็จ ,     เซียงเมี่ยงเอาเปรียบเณรน้อยในเรือ  ,   เณรน้อยแก้แค้นเซียงเมี่ยง  ,      เซียงเมี่ยงชนวัว  ,       เซียงเมี่ยงชนไก่  ,     เซียงเมี่ยงสานตะกร้าในน้ำ ,   เซียงเมี่ยงขอลูกสาวเสี่ยว ,     เซียงเมี่ยงถูกยาเบื่อตาย  ,     กระดูกเซียงเมี่ยงทำพิษแก่แม่หม้าย เป็นต้น (ยังมีอื่นๆ อีก แตกต่างกันบ้าง)”
      ในบทความเรื่อง ศรีปราชญ์อยู่ที่ไหน ศรีธนญชัยอยู่ที่นั้น (ศิลปวัฒนธรรม ธันวาคม 2541)  “สุจิตต์ วงศ์เทศ”  ให้ความเห็นไว้ดังต่อไปนี้
     “ศรีธนญชัยเป็นนิทานตลกขบขันที่ได้ชื่อมาจากตัวเอกเจ้าปัญญาแบบฉลาดแกมโกง
       นิทานเรื่องศรีธนญชัยแพร่หลายทั่วไปในดินแดนประเทศไทยและในประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาคอุษาคเนย์ แต่ไม่มีหลักฐานยืนยันได้ว่านิทานเรื่องนี้กำเนิดที่ไหน? หรือแพร่หลายกระจายจากดินแดนแห่ง
  ใด                                             
       เมื่อเอ่ยชื่อ ศรีธนญชัยคนไทยทั่วไปจะรู้ทันทีว่าหมายถึงคนมีปฏิภาณเป็นยอด มีไหวพริบเป็นเยี่ยม แต่มากด้วยเล่ห์เหลี่ยมเป็นร้อยเล่มเกวียนจนยากที่ใครจะรู้เท่าทัน ลักษณะดังกล่าวชวนให้นึกถึงพวก ตลกหลวงที่ทำหน้าที่ถวายเรื่องราวและการกระทำที่สนุกสนามให้พระเจ้าแผ่นดินสมัยโบราณทรงมีอารมณ์สดชื่นรื่นรมย์
     ในกฎมณเฑียรบาลสมัยต้นกรุงศรีอยุธยา มีชื่อตำแหน่งที่น่าสงสัยว่าจะเป็นตลกหลวงอยู่ด้วย ๒ ชื่อ คือ นักเทศและ ชันทีบางแห่งเขียนติดกันว่านักเทศขันทีแต่หมายถึงเจ้าหนักงาน ๒ คน
ชื่อ นักเทศชี้ชัดว่าหมายถึงชาวต่างชาติ คือไม่ใช่พวกสยามและน่าจะมีลักษณะพิเศษอยู่ด้วย คือเป็นพวกกะเทย เรื่องนี้มีร่องรอยหลายประการที่ทำให้เชื่อได้ว่าเป็นพวกที่ราชสำนักกรุงศรีอยุธยาซื้อมาจากอินเดียและเปอร์เซีย ส่วน ขันทีคงเป็นผู้ชายจีนที่ถูกตอนแล้ว ทั้งพวกนักเทศและขันทีล้วนเป็นผู้ชายชาวต่างชาติ คือ แขกกับ เจ๊กที่ถูกตอนหรือหรือถูกทำให้เป็นกะเทย แล้วถูกซื้อ-ขายเข้ามารับราชการอยู่ในราชสำนักกรุงศรีอยุธยา และน่าเชื่อว่าจะอยู่ใกล้ชิดกับฝ่ายใน เพราะได้รับสิทธิพิเศษ
   
น่าสงสัยว่าพวกนักเทศขันทีเหล่านี้แหละ ทำหน้าที่เป็นผู้ควบคุมหมายกำหนดการเข้าเฝ้าและระเบียบการต่างๆ ในราชสำนักรวมทั้งถวายเรื่องราวอันรื่นรมย์ต่อพระเจ้าแผ่นดินด้วย
   
บางทีพวกนักเทศหรือขันทีอาจจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับนิทานเรื่องศรีธนญชัยก็ได้ เพราะนิทานเรื่องนี้มีแพร่หลายทั่วไปทั้งภูมิภาคอุษาคเนย์ ซึ่งน่าจะมีเค้ามาจากต่างประเทศ
     นิทานเรื่องศรีธนญชัยสมัยแรกเป็นคำบอกเล่าปากต่อปากสืบๆ กันต่อมา ไม่รู้ว่าเริ่มจากไหนและแพร่หลายไปอย่างไรบ้าง สมัยแรกๆ นี้ยังไม่มีบันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร ต่อมามีผู้เอานิทานเรื่องศรีธนญชัยไปแต่งเป็นร้อยกรอง หรือเป็นกาพย์ กลอนแบบต่างๆ ที่นิยมตามท้องถิ่นนั้นเพื่อขับลำเล่านิทาน หรืออ่านเป็นทำนองให้ชาวบ้านฟัง....................
   
ในประเทศไทย ทางภาคกลางและภาคใต้เรียกชื่อตัวเองว่า ศรีธนญชัย ส่วนภาคเหนือและภาคอีสานไม่เรียกว่าศรีธนญชัย แต่เรียกชื่อตัวเอกว่า เชียงเมี่ยง
     
นิทานเรื่องศรีธนญชัยจงใจกำหนดบุคลิกของกษัตริย์ให้เป็นตัวตลก ต้องยอมจำนนต่อสติปัญญาเล่ห์เหลี่ยมของศรีธนญชัยเสมอ ลักษณะอย่างนี้มีอยู่ในนิทานพื้นบ้านพื้นเมืองของไทยหลายเรื่อง ต่อมาก็นำไปแต่งเป็นบทละครนอก เช่น ท้าวสามลในเรื่องสังข์ทอง เป็นต้น เหตุที่
                                                   
ประเพณีพื้นบ้านพื้นเมืองกำหนดให้บุคลิกของกษัตริย์ในนิทานและในตัวละครเป็นตัวตลกอย่างนั้น ดูเหมือนจะเป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดทางสังคมและวัฒนธรรมเพราะตามปกติคนทั่วไปไม่มีโอกาสอยู่ใกล้ชิดพระเจ้าแผ่นดินและไม่มีสิทธิล่วงเกินพระเจ้าแผ่นดินได้ ต่อมาเมื่อเล่านิทานหรือดูละครเท่านั้น สามัญชนจึงจะมีโอกาสละเมิดกฎเกณฑ์อันศักดิ์สิทธิ์ได้”  (สุจิตต์ วงษ์เทศ   “ศิลปวัฒนธรรม” ปีที่ ๒๐ ฉบับที่ ๒  ธันวาคม ๒๕๔๑) 
          ส่วนเรื่อง “ขะต้ำป๋าค่ำตุ๊” หรือ “กะต้ำป๋าค่ำตุ๊”  (ตุ๊ = สาธุ  หมายถึงภิกษุ) นั้น    เป็นเรื่องชวนหัวทำนองเดียวกับเซี่ยงเมี่ยง    แต่เปลี่ยนตัวละครจากเวียงเมี่ยงเป็นขะต้ำป๋า    พระราชาเจ้าเมืองเป็นพระภิกษุ
                เนื้อเรื่องมีมากมาย  แตกต่างกันไป   เช่นเรื่อง “ตุ๊เจ้าห้ามขุดจิ๊กกุ่งในวัด”
        ๐ ตุ๊เจ้าเห็นชาวบ้านมาขุดจิ๊กกุ่ง(จิ้งโกร่ง) ในวัดเอาไปกิน  จึงเขียนประกาศว่า  “ห้ามขุดจี๊กกุ่งในวัด”
          ขะต้ำป๋า จึงเอาถ่านเขียนต่อท้ายว่า  “ขุดได้นำถวาย”
          ตุ๊เจ้าอยากกินจี๊กกุ่ง  เลยเขียนต่อว่า  “หลังโบสถ์มีสองหลุม (ขุม)  อาจจะซ้อน(มีสองตัว) ๐
        ในทัศนะผู้เขียน  นิทานเหล่านี้และบทละครที่ท้าวสามลเป็นตัวตลกนั้น   เป็นวรรณกรรมเสียดเย้ยเท่านั้น   ยังไม่ใช่วรรณกรรมการเมือง
                       กาพย์พระไชยสุริยา
        วรรณคดีร้อยกรองที่มีลักษณะเสียดเย้ย    เรื่องหนึ่ง “กาพย์พระไชยสุริยา” ของสุนทรภู่ 
       กาพย์พระไชยสุริยาเป็นแบบเรียนที่สุนทรภู่แต่งขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3  ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๘๓ - ๒๓๘๕ ขณะที่บวชเป็นพระอยู่ทีวัดเทพธิดาราม ท่านแต่งเป็นกาพย์ซึ่งแทรกความรู้เกี่ยวกับภาษาไทย ในเรื่องของมาตราตัวสะกดแม่ต่าง ๆ เช่น แม่กก กง กน กด กบ และเกย เป็นต้น    โดยเดินเรื่องเป็นนิทานมีเนื้อเรื่องว่า
            มีกษัตริย์พระองค์หนึ่งมีพระนามว่าไชยสุริยา ครองเมืองสาวัตถี มีพระมเหสีทรงพระนามว่าสุมาลี ครอบครองบ้านเมืองด้วยความผาสุก ต่อมาข้าราชการ เสนาอำมาตย์ประพฤติตนไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม จึงเกิดเหตุอาเพศ เกิดน้ำป่าไหลท่วมเมือง ผีป่าอาละวาด ทำให้ชาวเมืองล้มตายจำนวนมาก พระไชยสุริยากับพระมเหสีจึงลงเรือสำเภาแต่ก็ถูกพายุพัดจนเรือแตก พระไชยสุริยาและมเหสีขึ้นฝั่งได้
                                                                            
             ในเรื่องได้สอดแทรกคติธรรมต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์อีกด้วย         จุดประสงค์ของการแต่งก็เพื่อถวายพระอักษรแด่พระโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยและเจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี พระอัครชายา คือเจ้าฟ้าชายกลางแล้วเจ้าฟ้าปิ๋ว   ครั้นต่อมาในรัชกาลที่ 5 เมื่อพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) แต่งหนังสือมูลบทบรรพกิจ สำหรับใช้เป็นแบบเรียนหนังสือไทยในโรงเรียนหลวง คงเห็นว่ากาพย์เรื่องพระไชยสุริยานี้ เป็นบทกวีนิพนธ์ที่ไพเราะทั้งอ่านเข้าใจง่ายและเป็นคติ จึงนำมาบรรจุไว้ในมูลบทบรรพกิจเป็นตอนๆ ตั้งแต่แม่ ก กา ไปจนจบ เกยในการศึกษากาพย์พระไชยสุริยา ผู้เรียนจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับลักษณะการแต่งคำประพันธ์ประเภทกาพย์ ได้แก่ กาพย์ยานี11 กาพย์ฉบัง16 และ กาพย์สุรางคนางค์ 28
        เนื้อความตอนที่มองได้ว่า   1. เสียดเย้ยสังคม   หรือ 2. เป็นการนำเอาภาพด้านลบ ใช้ตัวอย่างที่ไม่ดี มาสอนผู้คน (มีตัวอย่างเช่น  วรรณคดีเรื่อง “ธนญไชยชาดก” ซึ่งตัวเอกคือพระโพธิสัตว์ที่เสวยชาติเป็นบัณฑิต     ส่วนกษัตริย์ผู้ครองเมืองเป็นคนไม่ดี เป็นต้น)       

พระศรีไตรสรนา

เทวดาในราศี