ปริศนาธรรมวันแม่
“วันแม่” วันมหามงตล โน้มนำให้ชาวไทยรำลึกถึงพระคูณแม่ นึกถึงบทบาทความสำคัญของแม่ นึกถึงความสำคัญของครอบครัว นึกถึงความสำคัญของผู้หญิง
โน้มนำถึงความรักชาติด้วย เพราะชาติหรือมาตุภูมิก็เปรียบประดุจแม่
รวมถึงโน้มนำให้รำลึกถึงโลกธรรมชาติ อันเป็นแม่หล่อเลี้ยงสรรพสิ่งในพิภพนี้
บทความรำลึกพระคุณแม่ใน “วันแม่” นี้มีมากมาย แต่อาจมีปริศนาธรรมบางข้อที่หลายท่านอาจจะมิได้ใคร่ครวญในแง่มุมนั้นบ้าง
นั่นคือในธรรมชาตินั้น “บางสิ่งเกิดมาแล้วก็ย่อมฆ่าซึ่งแม่แห่งตน”
พระวินัยปิฎก จุลวรรค สังฆเภทขันธกะ มีข้อความว่า
“ผลกล้วยย่อมฆ่ากล้วย ขุยไผ่ย่อมฆ่าต้นไผ่ ขุยอ้อย่อมฆ่าต้นอ้อ สักการะย่อมฆาสคนชั่ว เหมือนม้าอัสดรซึ่งเกิดในครรภ์ ย่อมฆ่าแม่ม้าอัสดรนั้น”
พระสุตตันตปิฏก สังยุตตนิกาย นิทานวรรค จตุตถวรรค ปักกันตสูตร มีข้อความว่า
“ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนต้นกล้วยเผล็ดผล เพื่อฆ่าตนเองเพื่อความเสื่อมฉันใด ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้ไผ่ออกขุย เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อมฉันใด ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อม ฉันนั้นเหมือนกัน
กูกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนไม้อ้อออกดอก เพื่อฆ่าตนเองเพื่อความเสื่อมฉันใด บาภสักการะชื่อเสียงเกิดแก่เทวทัต เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อมฉันนั้นเหมือนกัน
ดุกรภิกษุทั้งหลาย เปรียบเหมือนแม่ม้าอัสดรตั้งครรภ์ เพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อมฉันใด ลาภสักการะและชื่อเสียงเกิดแก่เทวทัตเพื่อฆ่าตนเอง เพื่อความเสื่อมฉันนั้นเหมือนกัน
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะและชื่อเสียง ทารุณ ฯลฯ อย่างนี้แล เธอทั้งหลายพึงศึกษาอย่างนี้แหละ”
นอกจากในพระไตรปิฎกแล้ว “ปัญหาว่าด้วยธรรมชาติที่เกิดมาแล้วย่อมฆ่าซึ่งแม่ของตน” ก็ยังปรากฏในวรรณกรรมคำสอน เช่น คัมภัร์ธรรมนีติ ดังคาถาบทที่ 154 ว่า
“ลูกกล้วยฆ่าต้นกล้วย ขุยไผ่และดอกอ้อย่อมฆ่าต้นไผ่และต้นอ้อ ลาภผลฆ่าคนชั่ว ลูกม้าอัสดรก็ฆ่าแม่ม้าอัสดรเหมือนกัน”
แต่มนุษย์นั้น ได้ชื่อว่าจิตใจสูงส่ง มนุษย์มีคุณสมบัติรู้จักกตัญญูกตเวทิตา นี่เป็น “ธรรมชาติอันอัศจรรย์”
ในเรื่องธนัญชัยบัณฑิตชาดก บัณฑิตสามคนที่มาโต้แย้งกับธนัญชัยบัณฑิตโพธิสัตว์ บอกว่าความอัศจรรย์ของธรรมชาติคือ 1.การที่คนเรารู้จักปฏิสันถารพุดจาปราศรัยกัน 2.การที่คนเรารู้จักสรรเสริญเยินยอกัน 3.การที่คนมีความเคารพยำเกรงกัน แต่ธนัญชัยบัณฑิตโพธิสัตว์ตอบแก้ปัญหาว่า ความอัศจรรย์ของธรรมชาติทั้งสามประการนั้น ไม่มีแก่นสาระ ธรรมชาติอันเป็นอัศจรรย์อันประกอบด้วยแก่นสาระนั้น ได้แก่กตัญญูกตเวทิตา รู้คุณท่านและตอบแทนคุณท่าน นี่และเป็นอัศจรรย์อันประเสริฐในโลกนี้
นี่แลคือธรรมชาติของมนุษย์ที่แตกต่างจากธรรมชาติของสัตว์อื่น
หวังว่า “กตัญญูกตเวทิตา” จะมีอยู่ในใจทุกท่านทุกวัน มิใช่มามีเฉพาะในวันแม่เท่านั้น