พระนั่งเกล้าฯ
๐ พระผ่านภพร้อยเชื่อมยุคสมัย
สายพระเนตรยาวไกลเสริมสร้างสรรค์
พุทธศาสน์สรรพวิชานับอนันต์
ทรงวางแนวสัมพันธ์โลกสากล ๐
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม
30 มีนาคม 2553
29 มีนาคม 2553
the longest year
The Longest Year
สถานการณ์เมืองไทยในวันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม ล่อแหลมขึ้นมาทันทีทันใด เมื่อทางกลุ่ม นปช.ผ่านฟ้า ประกาศว่าจะเดินทางไปเรียกร้องนายกรัฐมนตรียุบสภาในทันที แกนนำ นปช.บางคนประกาศว่าถ้านายกรัฐมนตรีไม่ยอมยุบสภา เสื้อแดงก็จะเข้าไปในกรมทหารราบ 11 จุดนี้สร้างความตึงเครียดขึ้นทันที เพราะคนทั่ว ๆ ไปก็มีสามัญสำนึกรู้ว่า นายกรัฐมนตรีจะไม่ยอมยุบสภาเพราะการใช้มวลชนกดดันหน้ากรมทหารราบ 11 แล้วเมื่อเจรจาไม่สำเร็จ มวลชนรุกเข้าไปในพื้นที่กรมทการาบ 11 ทหารก็ย่อมจะป้องกันพื้นที่ ด้วยมาตรการทีละขั้น
แต่ในที่สุด ก็จะหลีกความรุนแรงไม่พ้น
เช้าวันอาทิตย์ ความตึงเครียดยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อ นายกรัฐมนตรีแถลงก่อน กลุ่ม นปช.ผ่านฟ้าเคลื่อนขบวนไปกรมทหารราบ 11 ว่าจะไม่พบกับแกนนำ นปช.ผ่านฟ้าที่กรมทหารราบ 11 แล้วแกนนำ นปช.ผ่านฟ้าเรียกร้องใหม่ ให้เวลานายกรัฐมนตรี 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงมีการตอบรับจากรัฐบาลให้มีการนัดเจรจาที่สถาบันพระปกเกล้า โดยกลุ่ม นปช.ผ่านฟ้าจะไม่เคลื่อนมวลชนออกไป แต่กลุ่ม นปช.หน้ากรม
ทหารราบ 11 ยังชุมนุมอยู่หน้ากรมทหารราบ 11
นักวิเคราะห์สถานการณ์ในจอโทรทัศน์ ส่วนใหญ่มองตรงกันว่า เป็นเกมชิงไหวชิงพริบ ชิงความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ระหว่างแกนนำ นปช.ผ่านฟ้า กับรัฐบาลเท่านั้น เพราะต้นตอของปัญหารากเหง้าคือเรื่องคดีความและทรัพย์สินของ พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตรและครอบครัว !
แม้ว่าจะยุติวิกฤติเฉพาะหน้าใน กทม. ขณะนี้ได้ โดยสามารถกำหนดระยะเวลาการยุบสภา และตกลงเงื่อนไขในการเจรจาเรื่องอื่น ๆ ต่อไปกันได้สำเร็จ แต่นั่นก็ไม่อาจยุติปัญหาในบ้านเมืองทั้งหมดได้
เนื่องจากรากเหง้าปัญหาแท้จริงอยู่ที่ “ทักษิณ ชินวัตร”
นักวิเคราะห์บางรายอาจมองว่า ปัญหาวิกฤติการเมืองไทย มีการเปลี่ยนแปลงระดับคุณภาพแล้ว ได้ก้าวข้ามพ้นเรื่องของ “ทักษิณ ชินวัตร” แล้ว
นั่นคือได้จุดไฟ คู่ขัดแย้งใหม่ ได้แก่ “ไพร่กับระบบอำมาตย์ ได้สำเร็จแล้ว !
จากนี้ต่อไป การต่อสู้ทางการเมืองจะเป็นการต่อสู้ระหว่างไพร่ที่ต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริงกับระบบอำมาตยาธิปไตย
แต่ผู้เขียนเห็นว่า พัฒนาการของความขัดแย้งยังไม่ถึงระดับนั้น
ปัจจัยและเงื่อนไขอันเป็นจริง ที่ทำให้การต่อสู้ทางการเมืองที่ฝ่าย นปช.ใช้คำว่า “สงคราม” ยืดยาวอยู่ได้นั้น ยังขึ้นอยู่กับประเด็น “เอา กับไม่เอา ทักษิณ”
ในเมื่อรากเหง้าปัญหาบ้านเมืองยังมิได้เปลี่ยนแปลง “การยุบสภา” จึงไม่อาจยุติปัญหาที่แท้จริงได้ การยุติปัญหาวิกฤติความขัดแย้งในสังคมไทยนั้น ต้องใช้เวลาอีกนาน อย่าคิดเป็นวัน ๆ ขอให้คิดเป็น ปี !
ทนมาได้สี่ปีแล้ว ขอให้อดทนต่อไปอีก
เรื่องที่ควรตระหนักคือ การต่อสู้ของ พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร นั้น “ยุทธวิธีเปลี่ยน แต่ยุทธศาสตร์ยังไม่เปลี่ยน”
แม้ว่าอุณหภูมิการเมืองลดลงพอให้ผู้คนผ่อนคลายได้อีกหลายวัน เมื่อสามตัวแทนแกนนำ กลุ่ม นปช.ผ่านฟ้าพบปะเจรจากับนายกรัฐมนตรีและแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็เป็นที่รู้ ๆ กันอยู่แล้วว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดข้อตกลงยุติปัญหากันได้ในการเจรจาสองสามรอบ
เมื่อมีการเจรจากันขึ้น ทั้งสองฝ่ายต่างมีผลได้ผลเสีย
ส่วนฝ่ายไหนจะได้หรือเสียมากกว่ากัน คงเป็นไปตามอคติของผู้ชมเหมือนเดิมนั่นแหละ
การถ่ายทอดสดการพบปะเจรจากันเป็นเรื่องดียิ่ง แต่การสื่อสารเพียงครั้งเดียวนี้ ยังไม่สามารถจะล้างอคติที่ฝังอยู่ในใจผู้คนจำนวนมากได้ในทันทีทันใด
คนไทยเรารับสาร ฟังความข้างเดียวมานานแล้ว
จุดนี้เป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
รัฐบาลยอมนั่งเจรจากับตัวแทนกลุ่ม นปช.นั้น ทาง “คนเสื้อแดง” จะเฝ้าชมกันหรือไม่ อย่างไร ? ถ้าติดชามรับฟังรับชมอย่างจริงจังก็จะดีมาก
เพราะอาจจะสามารถดึงเอาการต่อสู้ทางการเมือง ที่เคลื่อนใกล้เข้าไปสู่ “สนามรบ” ให้กลับมาสู่ “สนามปกติ” คืออยู่ในกรอบ กฏเกณฑ์ กติกา ระบอบประชาธิปไตยที่ยุติธรรม
การต่อสู้ทางการเมืองจนเป็นวิกฤติมาหลายปีแล้วนี้ มีหลายลำดับชั้น
ปรากฏการณ์ที่ผู้คนเห็นชัดอยู่ขณะนี้ คือกลุ่ม นปช. และพรรคพลังไทยที่โจนเข้าร่วมเต็มตัวฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลอีกฝ่ายหนึ่ง ยุทธศาสตร์ของ กลุ่ม นปช. คือขับไล่ให้รัฐบาลต้องสละอำนาจ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็วที่สุด ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลคือยืดเวลาให้อยู่เป็นรัฐบาลครบเทอม
ยุทธวิธีของทั้งสองฝ่ายนั้น ย่อมสรรค์มาใช้กันทุกอย่าง ซึ่งมันจะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์
เช่น เฉพาะหน้านี้สองฝ่ายหันมาใช้ยุทธวิธีพูดกันบนโต๊ะ
แต่เมื่อมีปัจจัยต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความได้เปรียบอย่างเต็มที่แล้ว เราก็อาจจะเห็นการรุกฆาตก็ได้
แต่อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวของฝ่ายรัฐบาลกับกลุ่ม นปช.ผ่านฟ้า นั้น ก็เป็นเพียงการต่อสู้ระดับเปิดเผย คือเป็น “ธง” ให้คนเห็น
เราควรจะมองให้ลึกถึงการต่อสู้เบื้องลึก ที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน
ที่สำคัญคือ ยุทธวิธีและกลศึกต่าง ๆ ที่ก่อเรื่องราวมากมาย อันไม่อาจหาหลักฐานชัดเจนว่าเกี่ยวอะไรกับกลุ่ม นปช.และรัฐบาล นั่นได้แก่ การยิงระเบิด โยนระเบิด ที่ขยายเป้าจากหน้าค่ายทหาร, ผู้นำองค์กรอิสระ , มาจนถึงบ้านนักการเมืองที่ไม่ใช่คู่กรณี อย่าง นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นต้น การขว้างระเบิดใส่โรงเรียนเปรม ติณสูรานนท์ สองแห่ง การขว้างระเบิดและยิงใส่ธนาคารกรุงเทพ และการก่อกวนต่าง ๆ อีกมากมาย เหล่านี้เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือโต๊ะการเจรจาระหว่าง กลุ่ม นปช.ผ่านฟ้ากับรัฐบาล
นอกจากรัฐบาลต้องเผชิญกับปัญหา “ก่อการร้าย” ข้างต้นแล้ว รัฐบาลยังต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ยิ่ง 2 ด้าน คือ 1.กลไกรัฐซื่อสัตย์เชื่อฟังคำบังคับบัญชารัฐบาลเพียงใด 2.แนวร่วมด้านต่าง ๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ยังเข้มแข็งเหนียวแน่นเพียงใด เหล่านี้คือจุดที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะปัจจัยเหล่านี้แหละ ที่จะทำให้วิกฤติยืดเยื้อออกไปเป็นหน่วยเวลา....ปี !
สถานการณ์เมืองไทยในวันอาทิตย์ที่ 28 มีนาคม ล่อแหลมขึ้นมาทันทีทันใด เมื่อทางกลุ่ม นปช.ผ่านฟ้า ประกาศว่าจะเดินทางไปเรียกร้องนายกรัฐมนตรียุบสภาในทันที แกนนำ นปช.บางคนประกาศว่าถ้านายกรัฐมนตรีไม่ยอมยุบสภา เสื้อแดงก็จะเข้าไปในกรมทหารราบ 11 จุดนี้สร้างความตึงเครียดขึ้นทันที เพราะคนทั่ว ๆ ไปก็มีสามัญสำนึกรู้ว่า นายกรัฐมนตรีจะไม่ยอมยุบสภาเพราะการใช้มวลชนกดดันหน้ากรมทหารราบ 11 แล้วเมื่อเจรจาไม่สำเร็จ มวลชนรุกเข้าไปในพื้นที่กรมทการาบ 11 ทหารก็ย่อมจะป้องกันพื้นที่ ด้วยมาตรการทีละขั้น
แต่ในที่สุด ก็จะหลีกความรุนแรงไม่พ้น
เช้าวันอาทิตย์ ความตึงเครียดยิ่งเพิ่มขึ้นเมื่อ นายกรัฐมนตรีแถลงก่อน กลุ่ม นปช.ผ่านฟ้าเคลื่อนขบวนไปกรมทหารราบ 11 ว่าจะไม่พบกับแกนนำ นปช.ผ่านฟ้าที่กรมทหารราบ 11 แล้วแกนนำ นปช.ผ่านฟ้าเรียกร้องใหม่ ให้เวลานายกรัฐมนตรี 1 ชั่วโมง จากนั้นจึงมีการตอบรับจากรัฐบาลให้มีการนัดเจรจาที่สถาบันพระปกเกล้า โดยกลุ่ม นปช.ผ่านฟ้าจะไม่เคลื่อนมวลชนออกไป แต่กลุ่ม นปช.หน้ากรม
ทหารราบ 11 ยังชุมนุมอยู่หน้ากรมทหารราบ 11
นักวิเคราะห์สถานการณ์ในจอโทรทัศน์ ส่วนใหญ่มองตรงกันว่า เป็นเกมชิงไหวชิงพริบ ชิงความได้เปรียบเสียเปรียบกัน ระหว่างแกนนำ นปช.ผ่านฟ้า กับรัฐบาลเท่านั้น เพราะต้นตอของปัญหารากเหง้าคือเรื่องคดีความและทรัพย์สินของ พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตรและครอบครัว !
แม้ว่าจะยุติวิกฤติเฉพาะหน้าใน กทม. ขณะนี้ได้ โดยสามารถกำหนดระยะเวลาการยุบสภา และตกลงเงื่อนไขในการเจรจาเรื่องอื่น ๆ ต่อไปกันได้สำเร็จ แต่นั่นก็ไม่อาจยุติปัญหาในบ้านเมืองทั้งหมดได้
เนื่องจากรากเหง้าปัญหาแท้จริงอยู่ที่ “ทักษิณ ชินวัตร”
นักวิเคราะห์บางรายอาจมองว่า ปัญหาวิกฤติการเมืองไทย มีการเปลี่ยนแปลงระดับคุณภาพแล้ว ได้ก้าวข้ามพ้นเรื่องของ “ทักษิณ ชินวัตร” แล้ว
นั่นคือได้จุดไฟ คู่ขัดแย้งใหม่ ได้แก่ “ไพร่กับระบบอำมาตย์ ได้สำเร็จแล้ว !
จากนี้ต่อไป การต่อสู้ทางการเมืองจะเป็นการต่อสู้ระหว่างไพร่ที่ต้องการประชาธิปไตยที่แท้จริงกับระบบอำมาตยาธิปไตย
แต่ผู้เขียนเห็นว่า พัฒนาการของความขัดแย้งยังไม่ถึงระดับนั้น
ปัจจัยและเงื่อนไขอันเป็นจริง ที่ทำให้การต่อสู้ทางการเมืองที่ฝ่าย นปช.ใช้คำว่า “สงคราม” ยืดยาวอยู่ได้นั้น ยังขึ้นอยู่กับประเด็น “เอา กับไม่เอา ทักษิณ”
ในเมื่อรากเหง้าปัญหาบ้านเมืองยังมิได้เปลี่ยนแปลง “การยุบสภา” จึงไม่อาจยุติปัญหาที่แท้จริงได้ การยุติปัญหาวิกฤติความขัดแย้งในสังคมไทยนั้น ต้องใช้เวลาอีกนาน อย่าคิดเป็นวัน ๆ ขอให้คิดเป็น ปี !
ทนมาได้สี่ปีแล้ว ขอให้อดทนต่อไปอีก
เรื่องที่ควรตระหนักคือ การต่อสู้ของ พ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร นั้น “ยุทธวิธีเปลี่ยน แต่ยุทธศาสตร์ยังไม่เปลี่ยน”
แม้ว่าอุณหภูมิการเมืองลดลงพอให้ผู้คนผ่อนคลายได้อีกหลายวัน เมื่อสามตัวแทนแกนนำ กลุ่ม นปช.ผ่านฟ้าพบปะเจรจากับนายกรัฐมนตรีและแกนนำพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็เป็นที่รู้ ๆ กันอยู่แล้วว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะเกิดข้อตกลงยุติปัญหากันได้ในการเจรจาสองสามรอบ
เมื่อมีการเจรจากันขึ้น ทั้งสองฝ่ายต่างมีผลได้ผลเสีย
ส่วนฝ่ายไหนจะได้หรือเสียมากกว่ากัน คงเป็นไปตามอคติของผู้ชมเหมือนเดิมนั่นแหละ
การถ่ายทอดสดการพบปะเจรจากันเป็นเรื่องดียิ่ง แต่การสื่อสารเพียงครั้งเดียวนี้ ยังไม่สามารถจะล้างอคติที่ฝังอยู่ในใจผู้คนจำนวนมากได้ในทันทีทันใด
คนไทยเรารับสาร ฟังความข้างเดียวมานานแล้ว
จุดนี้เป็นปัญหาที่ต้องรีบแก้ไขโดยด่วน
รัฐบาลยอมนั่งเจรจากับตัวแทนกลุ่ม นปช.นั้น ทาง “คนเสื้อแดง” จะเฝ้าชมกันหรือไม่ อย่างไร ? ถ้าติดชามรับฟังรับชมอย่างจริงจังก็จะดีมาก
เพราะอาจจะสามารถดึงเอาการต่อสู้ทางการเมือง ที่เคลื่อนใกล้เข้าไปสู่ “สนามรบ” ให้กลับมาสู่ “สนามปกติ” คืออยู่ในกรอบ กฏเกณฑ์ กติกา ระบอบประชาธิปไตยที่ยุติธรรม
การต่อสู้ทางการเมืองจนเป็นวิกฤติมาหลายปีแล้วนี้ มีหลายลำดับชั้น
ปรากฏการณ์ที่ผู้คนเห็นชัดอยู่ขณะนี้ คือกลุ่ม นปช. และพรรคพลังไทยที่โจนเข้าร่วมเต็มตัวฝ่ายหนึ่ง กับรัฐบาลอีกฝ่ายหนึ่ง ยุทธศาสตร์ของ กลุ่ม นปช. คือขับไล่ให้รัฐบาลต้องสละอำนาจ จัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปโดยเร็วที่สุด ยุทธศาสตร์ของรัฐบาลคือยืดเวลาให้อยู่เป็นรัฐบาลครบเทอม
ยุทธวิธีของทั้งสองฝ่ายนั้น ย่อมสรรค์มาใช้กันทุกอย่าง ซึ่งมันจะเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์
เช่น เฉพาะหน้านี้สองฝ่ายหันมาใช้ยุทธวิธีพูดกันบนโต๊ะ
แต่เมื่อมีปัจจัยต่าง ๆ เปลี่ยนแปลงไป หรือฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีความได้เปรียบอย่างเต็มที่แล้ว เราก็อาจจะเห็นการรุกฆาตก็ได้
แต่อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวของฝ่ายรัฐบาลกับกลุ่ม นปช.ผ่านฟ้า นั้น ก็เป็นเพียงการต่อสู้ระดับเปิดเผย คือเป็น “ธง” ให้คนเห็น
เราควรจะมองให้ลึกถึงการต่อสู้เบื้องลึก ที่ซับซ้อนซ่อนเงื่อน
ที่สำคัญคือ ยุทธวิธีและกลศึกต่าง ๆ ที่ก่อเรื่องราวมากมาย อันไม่อาจหาหลักฐานชัดเจนว่าเกี่ยวอะไรกับกลุ่ม นปช.และรัฐบาล นั่นได้แก่ การยิงระเบิด โยนระเบิด ที่ขยายเป้าจากหน้าค่ายทหาร, ผู้นำองค์กรอิสระ , มาจนถึงบ้านนักการเมืองที่ไม่ใช่คู่กรณี อย่าง นายบรรหาร ศิลปอาชา เป็นต้น การขว้างระเบิดใส่โรงเรียนเปรม ติณสูรานนท์ สองแห่ง การขว้างระเบิดและยิงใส่ธนาคารกรุงเทพ และการก่อกวนต่าง ๆ อีกมากมาย เหล่านี้เป็นเรื่องที่อยู่นอกเหนือโต๊ะการเจรจาระหว่าง กลุ่ม นปช.ผ่านฟ้ากับรัฐบาล
นอกจากรัฐบาลต้องเผชิญกับปัญหา “ก่อการร้าย” ข้างต้นแล้ว รัฐบาลยังต้องเผชิญกับปัญหาใหญ่ยิ่ง 2 ด้าน คือ 1.กลไกรัฐซื่อสัตย์เชื่อฟังคำบังคับบัญชารัฐบาลเพียงใด 2.แนวร่วมด้านต่าง ๆ ของพรรคประชาธิปัตย์ยังเข้มแข็งเหนียวแน่นเพียงใด เหล่านี้คือจุดที่น่าเป็นห่วงอย่างยิ่ง เพราะปัจจัยเหล่านี้แหละ ที่จะทำให้วิกฤติยืดเยื้อออกไปเป็นหน่วยเวลา....ปี !
28 มีนาคม 2553
ปันหยี
ปันหยี
นิทานหรือตำนานเรื่องเกี่ยวกับ “อิเหนา” ในชวานั้น เขานิยมเรียกชื่อว่าพระเอกว่า “ปันหยี” อิเหนาก็เป็นชื่อหนึ่งของพระเอกเหมือนกัน แต่ทางชวาเขานิยมเรียกว่า “ปันหยี” มากกว่า
สำหรับทางเรานั้น ชื่อ “ปันหยี” เป็นชื่อปลอม ใช้ในช่วงที่อิเหนาเที่ยวเตลิดเปิดเปิงไปอย่าง “มะงุมมะงาหรา” คือไม่มีจุดหมายแน่นอน ไปมันเรื่อย ๆ
อิเหนา(ในเรื่องดาหลัง)เที่ยว “มะงุมมะงาหรา” ไป เพราะเสียใจหลังจากนางเกนบุษบาตาย อิเหนาปลอมตนเป็นชาวป่า คือถอดเครื่องทรง “กษัตริย์วงศ์เทวา” แต่งองค์เป็นชาวป่า ใช้ชื่อว่า “ปันหยี” มีกองทัพของตน เที่ยวไปตีชิงบ้านเมืองอื่น ๆ เขาไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดไปเสียท่าถูกเขาหลอกจมเรือเดินทะเล กำลังพลพลัดพรายกระจายไป เหลืออิเหนากับพี่เลี้ยงอีกคนเดียว แล้วหลงไปอยู่ใน เมืองแม่หม้าย ทำเอาพี่เลี้ยงของอิเหนาจะเหี่ยวแห้งหมดแรงตาย เพราะผู้หญิง
อิเหนากับพี่เลี้ยงหนีจากเมืองแม่หม้ายได้แล้ว หลงไปถึงเมืองดาหาเมืองของพระเจ้าอา ต้องปลอมตัวเป็น “ดาหลัง” เล่นหนังจนมีชื่อเสียง ได้พบคู่หมั้นที่พ่อ (ท้าวกุเรปัน) หมั้นหมายไว้ให้
สัปดาห์นี้ดูสำนวนกลอนตอน อิเหนาปลอมตัวเป็นปันหยี ไปสำแดงศักดาสักหน่อยครับ
“เมื่อนั้น พระสุริย์วงศ์เทวัญอันศักดิ์สิทธิ์
เห็นทหารชำนาญชาญชิด สมคิดพระองค์เจตนา
ครั้นทอดพระเนตรเสร็จแล้ว พระแก้วแปลงองค์เป็นชาวป่า
ไม่ทรงมงกุฎแลชฎา ที่เคยทรงมาแต่ก่อนนั้น
แล้วสยายพระเกศเกศา ตามเพศชาวป่าชวานั่น
จึงแปลงพระนามตามสำคัญ เป็นปันจุเหร็จเพริศเพรา
ชื่อมิสากุหนุงปันหยี เหมาะตีลาหราชาวเขา
ที่เศร้าโศกศัลย์ค่อยบรรเทา พระเนาในบัลลังก์คีรี”
อิเหนาปลอมตัวเป็นชาวป่า อาศัยอยู่ในป่าเขา วันหนึ่งท้าวปันจะรากัน เจ้าเมืองปันจะรากัน นำมเหสีและธิดาออกป่า ไปนมัสการอาจารย์(ฤาษี) และถือโอกาสพาธิดาไปประพาสป่า
พี่เลี้ยงของอิเหนาไปเห็นโฉมนางบุษบาส่าหรี ธิดาท้าวปันจะรากันงดงามคล้ายกับนางเกนบุษบา จึงไปรายงานให้ “ปันหยี” ทราบ พอปันหยีมาเห็นโฉมนางบุษบาส่าหรีเข้า ก็ขี่ม้าเข้าไป “ชิงนาง” มาเลย
นับว่า “ห้าว” มากตามประสาวัยรุ่น
“เมื่อนั้น ปันหยีเพราเพริศเฉิดฉาย
แฝงไม้ใบบังแอบกาย เห็นสายสวาทเพียงบาดตา
เหมือนเกนบุษบาน้องนัก พระอักอ่วนป่วนใจเป็นหนักหนา
สมคำพี่บอกน้องมา พระรับขวัญกัลยาแล้วถอนใจ
เจ้าเอากำเนิดเป็นบุตรี ระตูองค์นี้ฤาไฉน
ทั้งพักตรมามารยาทดังวาดไว้ เจ้าอยู่ไยในรถนางเทวี
มาไปพลับพลาด้วยพี่ชาย ยังไม่หายโกรธฤานะเจ้าพี่
เพลิงราครุมร้อนดังอัคคี พ้นที่จะหน่วงหนักหักใจ
จำจะประรูกลที่บนรถ จะเงือดงดอดรักกระไรได้
ถึงระตูจะโกรธพิโรธใจ สุดแต่จะชิงชัยไม่ละกัน
คิดแล้วก็ขับมโนมัย เข้าไปเคียงรถขมีขมัน
อุ้มองค์บุษบามาพลัน เร่งรีบผายผันทันใด”
ชิงนางครั้งนี้ รอกการรบราฆ่าฟันไปได้อย่างหวุดหวิด เพราะท่านดาบสอาจารย์ของท้าวปันจะรากัน ห้ามท้าวปันจะรากันไว้ และเตือนท้าวปันจะรากันว่า ปันหยีมิใช่ชาวป่าแต่เป็นวงศ์กษัตริย์วงศ์เทวา
สรุปว่า อิเหนา หรือ ปันหยี ได้เมียคนใหม่ชื่อ นางบุษบาส่าหรี
แต่เท่านั้นยังไม่พอ ปันหยียังเที่ยวยกทัพไปตีเมืองอื่น ไปฆ่าระตูเมืองอื่นเสียอีกหลายคน แล้วก็ได้เมียมาอีกคน ชื่อนางกัติกาส่าหรี
ระหว่างนั้นยังอยู่ในกระบวนทัพ นอนในรถ คืนที่จะไปหานางกิติกาส่าหรี ปันหยีก็บอกกับนางบุษบาส่าหรีตรง ๆ
“เหน็บกฤชอันเรืองฤทธิรอน ดังไกรสรออกจากคูหา
เฉิดฉายกรายกรีดดำเนินมา ขึ้นยังรถบุษบาทันใด
ครั้นถึงจึงแอบแนบนาง พระหัตถ์ลูบปฤษฎางค์ทรงปราศรัย
ดวงสมรแม่อย่าอ่อนอาลัยใจ ทรามวัยจงได้ปรานี
วันนี้ตัวพี่จะขอลา ไปหากัติกาส่าหรี
โฉมยงจงค่อยอยู่ดี มีศรีอย่าละห้อยน้อยใจ
ว่าพลางทางตระโบมโลมนาง เชยพักตร์ชมกรางด้วยพิสมัย
แล้วเสด็จจากรถคลาไคล เร่งรีบดำเนินไปมิได้ช้า “
อย่าอิจฉาปันหยีเลย มันเรื่องละคร....เท่านั้นแหละครับ
นิทานหรือตำนานเรื่องเกี่ยวกับ “อิเหนา” ในชวานั้น เขานิยมเรียกชื่อว่าพระเอกว่า “ปันหยี” อิเหนาก็เป็นชื่อหนึ่งของพระเอกเหมือนกัน แต่ทางชวาเขานิยมเรียกว่า “ปันหยี” มากกว่า
สำหรับทางเรานั้น ชื่อ “ปันหยี” เป็นชื่อปลอม ใช้ในช่วงที่อิเหนาเที่ยวเตลิดเปิดเปิงไปอย่าง “มะงุมมะงาหรา” คือไม่มีจุดหมายแน่นอน ไปมันเรื่อย ๆ
อิเหนา(ในเรื่องดาหลัง)เที่ยว “มะงุมมะงาหรา” ไป เพราะเสียใจหลังจากนางเกนบุษบาตาย อิเหนาปลอมตนเป็นชาวป่า คือถอดเครื่องทรง “กษัตริย์วงศ์เทวา” แต่งองค์เป็นชาวป่า ใช้ชื่อว่า “ปันหยี” มีกองทัพของตน เที่ยวไปตีชิงบ้านเมืองอื่น ๆ เขาไปเรื่อย ๆ จนในที่สุดไปเสียท่าถูกเขาหลอกจมเรือเดินทะเล กำลังพลพลัดพรายกระจายไป เหลืออิเหนากับพี่เลี้ยงอีกคนเดียว แล้วหลงไปอยู่ใน เมืองแม่หม้าย ทำเอาพี่เลี้ยงของอิเหนาจะเหี่ยวแห้งหมดแรงตาย เพราะผู้หญิง
อิเหนากับพี่เลี้ยงหนีจากเมืองแม่หม้ายได้แล้ว หลงไปถึงเมืองดาหาเมืองของพระเจ้าอา ต้องปลอมตัวเป็น “ดาหลัง” เล่นหนังจนมีชื่อเสียง ได้พบคู่หมั้นที่พ่อ (ท้าวกุเรปัน) หมั้นหมายไว้ให้
สัปดาห์นี้ดูสำนวนกลอนตอน อิเหนาปลอมตัวเป็นปันหยี ไปสำแดงศักดาสักหน่อยครับ
“เมื่อนั้น พระสุริย์วงศ์เทวัญอันศักดิ์สิทธิ์
เห็นทหารชำนาญชาญชิด สมคิดพระองค์เจตนา
ครั้นทอดพระเนตรเสร็จแล้ว พระแก้วแปลงองค์เป็นชาวป่า
ไม่ทรงมงกุฎแลชฎา ที่เคยทรงมาแต่ก่อนนั้น
แล้วสยายพระเกศเกศา ตามเพศชาวป่าชวานั่น
จึงแปลงพระนามตามสำคัญ เป็นปันจุเหร็จเพริศเพรา
ชื่อมิสากุหนุงปันหยี เหมาะตีลาหราชาวเขา
ที่เศร้าโศกศัลย์ค่อยบรรเทา พระเนาในบัลลังก์คีรี”
อิเหนาปลอมตัวเป็นชาวป่า อาศัยอยู่ในป่าเขา วันหนึ่งท้าวปันจะรากัน เจ้าเมืองปันจะรากัน นำมเหสีและธิดาออกป่า ไปนมัสการอาจารย์(ฤาษี) และถือโอกาสพาธิดาไปประพาสป่า
พี่เลี้ยงของอิเหนาไปเห็นโฉมนางบุษบาส่าหรี ธิดาท้าวปันจะรากันงดงามคล้ายกับนางเกนบุษบา จึงไปรายงานให้ “ปันหยี” ทราบ พอปันหยีมาเห็นโฉมนางบุษบาส่าหรีเข้า ก็ขี่ม้าเข้าไป “ชิงนาง” มาเลย
นับว่า “ห้าว” มากตามประสาวัยรุ่น
“เมื่อนั้น ปันหยีเพราเพริศเฉิดฉาย
แฝงไม้ใบบังแอบกาย เห็นสายสวาทเพียงบาดตา
เหมือนเกนบุษบาน้องนัก พระอักอ่วนป่วนใจเป็นหนักหนา
สมคำพี่บอกน้องมา พระรับขวัญกัลยาแล้วถอนใจ
เจ้าเอากำเนิดเป็นบุตรี ระตูองค์นี้ฤาไฉน
ทั้งพักตรมามารยาทดังวาดไว้ เจ้าอยู่ไยในรถนางเทวี
มาไปพลับพลาด้วยพี่ชาย ยังไม่หายโกรธฤานะเจ้าพี่
เพลิงราครุมร้อนดังอัคคี พ้นที่จะหน่วงหนักหักใจ
จำจะประรูกลที่บนรถ จะเงือดงดอดรักกระไรได้
ถึงระตูจะโกรธพิโรธใจ สุดแต่จะชิงชัยไม่ละกัน
คิดแล้วก็ขับมโนมัย เข้าไปเคียงรถขมีขมัน
อุ้มองค์บุษบามาพลัน เร่งรีบผายผันทันใด”
ชิงนางครั้งนี้ รอกการรบราฆ่าฟันไปได้อย่างหวุดหวิด เพราะท่านดาบสอาจารย์ของท้าวปันจะรากัน ห้ามท้าวปันจะรากันไว้ และเตือนท้าวปันจะรากันว่า ปันหยีมิใช่ชาวป่าแต่เป็นวงศ์กษัตริย์วงศ์เทวา
สรุปว่า อิเหนา หรือ ปันหยี ได้เมียคนใหม่ชื่อ นางบุษบาส่าหรี
แต่เท่านั้นยังไม่พอ ปันหยียังเที่ยวยกทัพไปตีเมืองอื่น ไปฆ่าระตูเมืองอื่นเสียอีกหลายคน แล้วก็ได้เมียมาอีกคน ชื่อนางกัติกาส่าหรี
ระหว่างนั้นยังอยู่ในกระบวนทัพ นอนในรถ คืนที่จะไปหานางกิติกาส่าหรี ปันหยีก็บอกกับนางบุษบาส่าหรีตรง ๆ
“เหน็บกฤชอันเรืองฤทธิรอน ดังไกรสรออกจากคูหา
เฉิดฉายกรายกรีดดำเนินมา ขึ้นยังรถบุษบาทันใด
ครั้นถึงจึงแอบแนบนาง พระหัตถ์ลูบปฤษฎางค์ทรงปราศรัย
ดวงสมรแม่อย่าอ่อนอาลัยใจ ทรามวัยจงได้ปรานี
วันนี้ตัวพี่จะขอลา ไปหากัติกาส่าหรี
โฉมยงจงค่อยอยู่ดี มีศรีอย่าละห้อยน้อยใจ
ว่าพลางทางตระโบมโลมนาง เชยพักตร์ชมกรางด้วยพิสมัย
แล้วเสด็จจากรถคลาไคล เร่งรีบดำเนินไปมิได้ช้า “
อย่าอิจฉาปันหยีเลย มันเรื่องละคร....เท่านั้นแหละครับ
27 มีนาคม 2553
ดาหลัง
ดาหลัง
“ดะลัง” ภาษาชวาแปลว่า “หนัง” (หนังตะลุง)
“นายหนัง” หรือศิลปินหัวหน้าวงหนัง เขาเรียกว่า “ป๊ะดะลัง”
ในหมู่บ้านใจกลางเกาะบาหลีที่วัฒนธรรมประเพณีเก่ายังคงมีอิทธิพลมากอยู่นั้น “นายบ้าน” มีวรรณะกษัตริย์ “พราหมณ์”ผู้ทำพิธีทางศาสนา มีวรรณะพราหมณ์ ว่ากันตามฐานะแท้จริงที่ผมเห็น (พ.ศ 2532) นายบ้านมีฐานะสูงกว่าพราหมณ์
หลาย ๆ หมู่บ้านจึงจะมี “ป๊ะดะลัง” ศิลปินใหญ่สักคนหนึ่ง และป๊ะดะลังนี้มีเกียรติยศมีฐานะศักดิ์ศรีสูงกว่านายบ้านเสียอีก ลักษณะที่ศิลปินผู้ประกอบพิธีกรรม (การเล่นหนังเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม) มีศักดิ์ฐานะสูงสุดในสังคมนี้ ผมเชื่อว่าเป็นลักษณะพิเศษของสังคมเอเชียอาคเนย์ยุคดั้งเดิม
คำว่า “ดาหลัง” ในเมืองไทย นอกจากหมายถึง “หนัง”(หนังตะลุง)แล้ว ยังเป็นชื่อวรรณคดีที่สยามรับมาจากชวาด้วย วรรณคดี “ดาหลัง” นี้เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “อิเหนาใหญ่”
วรรณคดี “อิเหนาใหญ่” (ดาหลัง) และ “อิเหนาเล็ก” แพร่หลายมาถึงสยามในช่วงปลายยุคกรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานชัดเจนในวรรณคดีเรื่อง “บุณโณวาทคำฉันท์” ของพระมหานาค วัดท่าทราย แต่งในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ว่ามหรสพที่เล่นในงานพระพุทธบาทสระบุรีนั้น มีเรื่องิเหนาด้วย
และมีตำนานว่า เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงแต่งบทละครขึ้นองค์ละเรื่อง เป็นเรื่อง “ดาหลัง”และ “อิเหนา”
ในพระราชนิพนธ์บทละครอิเหนา รัชกาลที่สอง ทรงนิพนธ์ว่า
“อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์ แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป”
อันที่จริงบทละครเรื่องอิเหนา สำนวนยุคกรุงศรีอยุธยานั้น ยังปรากฏต้นฉบับอยู่บ้างนิดหน่อย ดังที่ผมเคยนำเสนอในสยามรัฐนานมาแล้ว
พระพุทธยอดฟ้าจุโลกมหาราช รัชกาลที่หนึ่ง ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาใหญ่(ดาหลัง)และเรื่องอิเหนาเล็ก (อิเหนา) พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงวิจารณ์ไว้ว่า
“ควรเชื่อได้ว่าทั้งสองเรื่องนั้น สำนวนเดิมเคยมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพราะการฟื้นฟูวรรณคดีก็ดี ราชการงานเมืองก็ดี เป็นการฟื้นฟูตามแบบกรุงศรีอยุธยาทั้งนั้น ท่านไม่น่าจะมีเวลามาคิดแต่งดาหลังขึ้นใหม่แน่”
และพระองค์ทรงวิจารณ์บทละครเรื่อง “ดาหลัง” ว่า “ดาหลัง เป้นกลอนบทละคร ฝีปากปานกลาง ท้องเรื่องสับสนกว่าเรื่องอื่น ๆ “อิเหนา”(เล็ก)เป็นกลอนบทละคร ท้องเรื่องไม่ยุ่งอย่างดาหลัง ฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่สอง มีโวหารไพเราะเฉียบแหลมเป็นอย่างยิ่ง แม้จะแต่มาแล้วตั้ง 100 ปีก็ยังไม่เสื่อมความนิยมของมหาชน เคยได้รับความยกย่องของราชบัณฑิตยสถานในรัชกาลที่หก ว่าเป็นยอดของกลอนทั้งหลายในเมืองไทยเพียงเวลานั้น ”
(เรื่อง “ดาหลัง” พิมพ์ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า วันที่ 22 เมษายน 2499)
แม้ว่าสำนวนกลอนใน “ดาหลัง” จะไม่ไพเราะเท่า “อิเหนา” แต่ก็ควรศึกษาอย่างยิ่งในแง่ของความเป็น “ทางกลอนสมัยอยุธยา”
จะขอยกสำนวนในตอน ระเด่นมนตรี(อิเหนา หรือ ดาหลัง) ครวญถึงนางเกนบุษบาเมียคนแรกของระเด่นมนตรี ที่ถูกท้าวกุเรปัน บิดาของระเด่นมนตรีสั่งฆ่า เพราะดกรธที่ระเด่นมนตรีไปลุ่มหลงนาง จนไม่ยอมไปแต่งงานกับธิดาท้าวดาหาทีตนสู่ขอไว้ระเด่นมนตรีพบศพของนางเกนบุษบาในป่าจึงนำศพลงแพหนีหายไป ระหว่างที่อยู่ในแพกับศพนางเกนบุษบา ระเด่นมนตรีคร่ำครวญว่า
๐ เมื่อนั้น ฝ่ายระเด่นมนตรีเรืองศรี
พระเนาในแพศพเทวี โศกีครวญคร่ำร่ำไร
บุษบาส่าหรีเจ้าพี่อา แต่เราลอยคงคาอันหลั่งไหล
ได้ห้าวันแล้วเจ้าดวงใจ เจ้าไม่พาทีด้วยพี่ชาย
เจ้าเคยเชยชวนให้ชูชื่น ครั้นรื้อฟื้นคืนคิดก็ใจหาย
พี่สู้เสียสมบัติอันเพริศพราย พี่มาเอกากายอยู่กลางชล
เห็นวารีรี่เรื่อยหลั่งไหล เหมือนดวงชลนัยน์ให้โหยหน
แต่พี่เดียวมาเปลี่ยวทุกข์ทน จงลุกขึ้นชมชลด้วยพี่ชาย
แม้นเจ้าไม่ม้วยมรณา จะชี้ชมมัจฉาอันหลากหลาย
เจ้ามานอนแน่นิ่งไม่ติงกาย สายสวาทผินหน้ามาพาที
เห็นลมพาคงคาเป็นคลื่นซัด เหมือนเราพลัดมาจากสวนศรี
เห็นฟองชลลอยล่องชลธี เหมือนเจ้ากับพี่ลอยแพมา
โอ้ว่าแต่นี้นะอกเอ๋ย จะชวดชมชวดเชยเสน่หา
จะชวดสุขเกษมศรีปีดา จะเปล่าใจเปลี่ยวตาทุกราตรี ๐
“ดะลัง” ภาษาชวาแปลว่า “หนัง” (หนังตะลุง)
“นายหนัง” หรือศิลปินหัวหน้าวงหนัง เขาเรียกว่า “ป๊ะดะลัง”
ในหมู่บ้านใจกลางเกาะบาหลีที่วัฒนธรรมประเพณีเก่ายังคงมีอิทธิพลมากอยู่นั้น “นายบ้าน” มีวรรณะกษัตริย์ “พราหมณ์”ผู้ทำพิธีทางศาสนา มีวรรณะพราหมณ์ ว่ากันตามฐานะแท้จริงที่ผมเห็น (พ.ศ 2532) นายบ้านมีฐานะสูงกว่าพราหมณ์
หลาย ๆ หมู่บ้านจึงจะมี “ป๊ะดะลัง” ศิลปินใหญ่สักคนหนึ่ง และป๊ะดะลังนี้มีเกียรติยศมีฐานะศักดิ์ศรีสูงกว่านายบ้านเสียอีก ลักษณะที่ศิลปินผู้ประกอบพิธีกรรม (การเล่นหนังเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรม) มีศักดิ์ฐานะสูงสุดในสังคมนี้ ผมเชื่อว่าเป็นลักษณะพิเศษของสังคมเอเชียอาคเนย์ยุคดั้งเดิม
คำว่า “ดาหลัง” ในเมืองไทย นอกจากหมายถึง “หนัง”(หนังตะลุง)แล้ว ยังเป็นชื่อวรรณคดีที่สยามรับมาจากชวาด้วย วรรณคดี “ดาหลัง” นี้เรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “อิเหนาใหญ่”
วรรณคดี “อิเหนาใหญ่” (ดาหลัง) และ “อิเหนาเล็ก” แพร่หลายมาถึงสยามในช่วงปลายยุคกรุงศรีอยุธยา มีหลักฐานชัดเจนในวรรณคดีเรื่อง “บุณโณวาทคำฉันท์” ของพระมหานาค วัดท่าทราย แต่งในรัชกาลพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ว่ามหรสพที่เล่นในงานพระพุทธบาทสระบุรีนั้น มีเรื่องิเหนาด้วย
และมีตำนานว่า เจ้าฟ้ากุณฑลและเจ้าฟ้ามงกุฎ พระราชธิดาพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงแต่งบทละครขึ้นองค์ละเรื่อง เป็นเรื่อง “ดาหลัง”และ “อิเหนา”
ในพระราชนิพนธ์บทละครอิเหนา รัชกาลที่สอง ทรงนิพนธ์ว่า
“อันอิเหนาเอามาทำเป็นคำร้อง สำหรับงานการฉลองกองกุศล
ครั้งกรุงเก่าเจ้าสตรีเธอนิพนธ์ แต่เรื่องต้นตกหายพลัดพรายไป”
อันที่จริงบทละครเรื่องอิเหนา สำนวนยุคกรุงศรีอยุธยานั้น ยังปรากฏต้นฉบับอยู่บ้างนิดหน่อย ดังที่ผมเคยนำเสนอในสยามรัฐนานมาแล้ว
พระพุทธยอดฟ้าจุโลกมหาราช รัชกาลที่หนึ่ง ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่องอิเหนาใหญ่(ดาหลัง)และเรื่องอิเหนาเล็ก (อิเหนา) พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทรงวิจารณ์ไว้ว่า
“ควรเชื่อได้ว่าทั้งสองเรื่องนั้น สำนวนเดิมเคยมีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เพราะการฟื้นฟูวรรณคดีก็ดี ราชการงานเมืองก็ดี เป็นการฟื้นฟูตามแบบกรุงศรีอยุธยาทั้งนั้น ท่านไม่น่าจะมีเวลามาคิดแต่งดาหลังขึ้นใหม่แน่”
และพระองค์ทรงวิจารณ์บทละครเรื่อง “ดาหลัง” ว่า “ดาหลัง เป้นกลอนบทละคร ฝีปากปานกลาง ท้องเรื่องสับสนกว่าเรื่องอื่น ๆ “อิเหนา”(เล็ก)เป็นกลอนบทละคร ท้องเรื่องไม่ยุ่งอย่างดาหลัง ฉบับพระราชนิพนธ์รัชกาลที่สอง มีโวหารไพเราะเฉียบแหลมเป็นอย่างยิ่ง แม้จะแต่มาแล้วตั้ง 100 ปีก็ยังไม่เสื่อมความนิยมของมหาชน เคยได้รับความยกย่องของราชบัณฑิตยสถานในรัชกาลที่หก ว่าเป็นยอดของกลอนทั้งหลายในเมืองไทยเพียงเวลานั้น ”
(เรื่อง “ดาหลัง” พิมพ์ในงานถวายพระเพลิงพระบรมศพ สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยิกาเจ้า วันที่ 22 เมษายน 2499)
แม้ว่าสำนวนกลอนใน “ดาหลัง” จะไม่ไพเราะเท่า “อิเหนา” แต่ก็ควรศึกษาอย่างยิ่งในแง่ของความเป็น “ทางกลอนสมัยอยุธยา”
จะขอยกสำนวนในตอน ระเด่นมนตรี(อิเหนา หรือ ดาหลัง) ครวญถึงนางเกนบุษบาเมียคนแรกของระเด่นมนตรี ที่ถูกท้าวกุเรปัน บิดาของระเด่นมนตรีสั่งฆ่า เพราะดกรธที่ระเด่นมนตรีไปลุ่มหลงนาง จนไม่ยอมไปแต่งงานกับธิดาท้าวดาหาทีตนสู่ขอไว้ระเด่นมนตรีพบศพของนางเกนบุษบาในป่าจึงนำศพลงแพหนีหายไป ระหว่างที่อยู่ในแพกับศพนางเกนบุษบา ระเด่นมนตรีคร่ำครวญว่า
๐ เมื่อนั้น ฝ่ายระเด่นมนตรีเรืองศรี
พระเนาในแพศพเทวี โศกีครวญคร่ำร่ำไร
บุษบาส่าหรีเจ้าพี่อา แต่เราลอยคงคาอันหลั่งไหล
ได้ห้าวันแล้วเจ้าดวงใจ เจ้าไม่พาทีด้วยพี่ชาย
เจ้าเคยเชยชวนให้ชูชื่น ครั้นรื้อฟื้นคืนคิดก็ใจหาย
พี่สู้เสียสมบัติอันเพริศพราย พี่มาเอกากายอยู่กลางชล
เห็นวารีรี่เรื่อยหลั่งไหล เหมือนดวงชลนัยน์ให้โหยหน
แต่พี่เดียวมาเปลี่ยวทุกข์ทน จงลุกขึ้นชมชลด้วยพี่ชาย
แม้นเจ้าไม่ม้วยมรณา จะชี้ชมมัจฉาอันหลากหลาย
เจ้ามานอนแน่นิ่งไม่ติงกาย สายสวาทผินหน้ามาพาที
เห็นลมพาคงคาเป็นคลื่นซัด เหมือนเราพลัดมาจากสวนศรี
เห็นฟองชลลอยล่องชลธี เหมือนเจ้ากับพี่ลอยแพมา
โอ้ว่าแต่นี้นะอกเอ๋ย จะชวดชมชวดเชยเสน่หา
จะชวดสุขเกษมศรีปีดา จะเปล่าใจเปลี่ยวตาทุกราตรี ๐
7 มีนาคม 2553
กลอนรักของ "คึกฤทธิ์"
กลอนรักของ “คึกฤทธิ์”
๐ นอนเสียเถิดยาหยีพี่จะกล่อม
แม้ว่าพร้อมใจร่วมสโมสร
ต้องยึดเอาบาทวิถีเป็นที่นอน
มีพระพายคลายร้อนเป็นคนพัด
พฤกษาใหญ่กั้นกลางเป็นหลังคา
มีดารานับแสนแน่นขนัด
เป็นประทีปตามไว้ให้เห็นชัด
เสียงรถจัดเหมือนประโคมประโลมใจ
ถึงทุกข์ยากของเราเขาไม่เห็น
แต่เทวายังเป็นพยานให้
สามัคคีให้ตลอดกอดกันไว้
คงจะได้สมมาตรไม่คลาดกัน ๐
(จากหนังสือ คึกฤทธิ์ ปราโมช “ตอบปัญหาหัวใจ” )
“คึกฤทธิ์ ปราโมช” ท่านเขียนบทกวีไว้ไม่มาก แต่ก็เขียนทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน หนังสือที่เขียนเป็นบทกวีเกือบทั้งเล่มคือ “กษัยธรรม” เป็นงานเขียนล้อเลียนนโยบายของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ฉบับนี้จะเสนอบทกวีที่เกี่ยวกับเรื่อง ชาย-หญิง ความรัก
บทหนึ่งเขียนตอบเป็นคำฉันท์
ผู้อ่านถามมาว่า
๐ ขอโทษเพราะ “พาหิรกถา” กรุณากระผมที
คือว่าประดากุลนรี นุชน้องประคองตัว
เป็นโสดมิโปรดปุริสร่วม บมิรวมมิพันพัว
จักนึกและตรึกหทยกลัว ฤ เพราะเหตุพิเศษใด
พรหมันธสรรค์ยุคลเพศ ก็วิเศษประจักษ์ใจ
เพื่อการสมานก็และไฉน อรฝืนมิชื่นชม
เมื่อเธอมิเออมนสอวย ผิจะช่วยก็ขืนข่ม
โปรดตอบผิชอบนิตินิยม ก็จะเกิดประโยชน์หลาย ๐
“คึกฤทธิ์ ปราโมช”ตอบว่า
๐ เหตุว่าประดากุลนรี อรมีหทัยอาย
แม้รีบสนองวจนชาย ก็จะเสื่อมจะสิ้นแสง
หัวใจบุรุษวิกลนัก ผิวะรักสิร้อนแรง
รักตอบมิชอบมนะระแวง ชระบอบเสน่ห์นาน
รักใดจะเพริศวิมลเทียบ ฤจะเปรียบประเมินปาน
“รักตน” สิคือปทสถาน ปฏิพัทธ์วนิดา
ความรักผิท่วมอุระสตรี บ่มิมีจะเผยมา
ยอมม้วยเพราะเหตุตฤษณา ฤ เพราะกลืน “มดีนาล” ๐
“ความรักผิท่วมอุระสตรี บ่มิมีจะเผยมา”
มองตาก็รู้ครับว่า ผู้หญิงรักเราหรือเปล่า
พอดีผมเป็นผู้ชายน่ะครับ เลยพูดแทนสตรีไม่ได้ว่า เธอมองตาชายแล้วรู้หรือเปล่าว่าผู้ชายรักเรา
ผมยังไม่พบงานกวีประเภทสายลม-แสงแดด ของ “คึกฤทธิ์ ปราโมช” เลย
จะเป็นเพราะท่านไม่เขียน หรือว่าเพราะท่านมาเขียนหนังสือเอาตอนเป็นผู้ใหญ่ผ่านวัยมาพอสมควรแล้ว จึงไม่มีกลอนประเภทหวานแหวว
ในเรื่องนิราศร้อน กลอนนิราศเรื่องเดียวของท่าน ท่านเขียนรำพึงรำพันไว้ว่า
๐ นิราศร้อนจรเหนือเมื่อเมษา
ไปนครเชียงใหม่วิไลตา
ขวบเวลาเล่นน้ำยามสงกรานต์
จะเพ้อพร่ำสั่งสุดาน้ำตาตก
ต้องโกหกเพราะไม่มีอยู่ที่บ้าน
ด้วยเลิกร้างโรยรามาช้านาน
กลายเป็นตาลโตนดผู้อยู่ต้นเดียว
รถไฟอกจากกรุงมุ่งสู่เหนือ
สบายเหลือด้วยไม่มีที่จะเหลียว
ไม่มีข้อผูกพันกระสันเกลียว
จึงอาจเที่ยวพักผ่อนหย่อนอารมณ์ ๐
ความรักใน “นิราศร้อน” ถ่ายเทไปสู่ความรักแผ่นดินถิ่นไทย อันเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่นิรันดร ท่านเขียนไว้ว่า
๐ ใครอยากให้คนไทยนั้นรักชาติ
ควรจะหาโอกาสให้เที่ยวเตร่
เห็นเมืองไทยเหนือสุดผุดทะเล
ตงจะเหหันจิตคิดคำนึง
ว่าเมืองทองของไทยอันใหญ่หลวง
ควรจะหวงเอาไว้อาศัยพึ่ง
เป็นที่กินที่อยู่จะสู้ตรึง
ไว้จนถึงลุกหลานกาลต่อไป
พิศเพลินภูมิประเทศเขตพายัพ
รู้สึกจับใจจริงยิ่งเมืองไหน
เคยผ่านแล้วแถวถิ่นแผ่นดินไกล
หาเมืองใดที่จะเทียบเปรียบเมืองทอง
ถึงงามตาน่ายลของคนอื่น
ก็ไม่ชื่นเหมือนกับเราเป็นเจ้าของ
เสียงลมพัดน้ำตกวิหคร้อง
เป็นทำนองภาษาไทยไปทั้งนั้น
เห็นป่าไม้เขียวสดจรดขอบฟ้า
มีภูผากั้นอยู่ดูขึงขัน
แม้นมีคู่แล้วจะร่ำพร่ำรำพัน
จะด้นดั้นภูผาไปหานาง ๐
ปิดท้ายด้วยโคลงถามตอบที่ไพเราะ ท่านผู้อ่านเขียนมาถามว่า
“ ลาโง่ตัวหนึ่ง กินหญ้าอยู่ที่ชายป่า ได้ยินเสียงจิ้งหรีดร้องเพราะจับใจ อยากจะใคร่ร้องได้บ้าง จึงไปถามจิ้งหรีดว่า
๐ คึกฤทธิ์คิดลึกพ้น ธรรมดา มนุษย์แฮ
เจนจัดจบวิทยา อาจอ้าง
สงสัยเสพโภชนา ใดเล่า ละพ่อ
“ฤาท่านกินน้ำค้าง จึ่งร้องจับใจ” ๐”
“คึกฤทธิ์ ปราโมช” ตอบว่า
“แต่เผอิญจิ้งหรีดตัวนั้นเป็นจิ้งหรีดชนิดที่กินหญ้า เช่นเดียวกับลาทั้งปวง จึงตอบว่า...
๐ สำเนียงสนาะพร้อง เพียงใด พ่อเอย
เพราะพุดจากหัวใจ พวกพ้อง
อาหารเฉกคนไทย เขาเสพ กันพ่อ
คือว่า “น้ำลูบท้อง” เสพแล้วอิ่มเหลือ ๐
๐ นอนเสียเถิดยาหยีพี่จะกล่อม
แม้ว่าพร้อมใจร่วมสโมสร
ต้องยึดเอาบาทวิถีเป็นที่นอน
มีพระพายคลายร้อนเป็นคนพัด
พฤกษาใหญ่กั้นกลางเป็นหลังคา
มีดารานับแสนแน่นขนัด
เป็นประทีปตามไว้ให้เห็นชัด
เสียงรถจัดเหมือนประโคมประโลมใจ
ถึงทุกข์ยากของเราเขาไม่เห็น
แต่เทวายังเป็นพยานให้
สามัคคีให้ตลอดกอดกันไว้
คงจะได้สมมาตรไม่คลาดกัน ๐
(จากหนังสือ คึกฤทธิ์ ปราโมช “ตอบปัญหาหัวใจ” )
“คึกฤทธิ์ ปราโมช” ท่านเขียนบทกวีไว้ไม่มาก แต่ก็เขียนทั้งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน หนังสือที่เขียนเป็นบทกวีเกือบทั้งเล่มคือ “กษัยธรรม” เป็นงานเขียนล้อเลียนนโยบายของรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม
ฉบับนี้จะเสนอบทกวีที่เกี่ยวกับเรื่อง ชาย-หญิง ความรัก
บทหนึ่งเขียนตอบเป็นคำฉันท์
ผู้อ่านถามมาว่า
๐ ขอโทษเพราะ “พาหิรกถา” กรุณากระผมที
คือว่าประดากุลนรี นุชน้องประคองตัว
เป็นโสดมิโปรดปุริสร่วม บมิรวมมิพันพัว
จักนึกและตรึกหทยกลัว ฤ เพราะเหตุพิเศษใด
พรหมันธสรรค์ยุคลเพศ ก็วิเศษประจักษ์ใจ
เพื่อการสมานก็และไฉน อรฝืนมิชื่นชม
เมื่อเธอมิเออมนสอวย ผิจะช่วยก็ขืนข่ม
โปรดตอบผิชอบนิตินิยม ก็จะเกิดประโยชน์หลาย ๐
“คึกฤทธิ์ ปราโมช”ตอบว่า
๐ เหตุว่าประดากุลนรี อรมีหทัยอาย
แม้รีบสนองวจนชาย ก็จะเสื่อมจะสิ้นแสง
หัวใจบุรุษวิกลนัก ผิวะรักสิร้อนแรง
รักตอบมิชอบมนะระแวง ชระบอบเสน่ห์นาน
รักใดจะเพริศวิมลเทียบ ฤจะเปรียบประเมินปาน
“รักตน” สิคือปทสถาน ปฏิพัทธ์วนิดา
ความรักผิท่วมอุระสตรี บ่มิมีจะเผยมา
ยอมม้วยเพราะเหตุตฤษณา ฤ เพราะกลืน “มดีนาล” ๐
“ความรักผิท่วมอุระสตรี บ่มิมีจะเผยมา”
มองตาก็รู้ครับว่า ผู้หญิงรักเราหรือเปล่า
พอดีผมเป็นผู้ชายน่ะครับ เลยพูดแทนสตรีไม่ได้ว่า เธอมองตาชายแล้วรู้หรือเปล่าว่าผู้ชายรักเรา
ผมยังไม่พบงานกวีประเภทสายลม-แสงแดด ของ “คึกฤทธิ์ ปราโมช” เลย
จะเป็นเพราะท่านไม่เขียน หรือว่าเพราะท่านมาเขียนหนังสือเอาตอนเป็นผู้ใหญ่ผ่านวัยมาพอสมควรแล้ว จึงไม่มีกลอนประเภทหวานแหวว
ในเรื่องนิราศร้อน กลอนนิราศเรื่องเดียวของท่าน ท่านเขียนรำพึงรำพันไว้ว่า
๐ นิราศร้อนจรเหนือเมื่อเมษา
ไปนครเชียงใหม่วิไลตา
ขวบเวลาเล่นน้ำยามสงกรานต์
จะเพ้อพร่ำสั่งสุดาน้ำตาตก
ต้องโกหกเพราะไม่มีอยู่ที่บ้าน
ด้วยเลิกร้างโรยรามาช้านาน
กลายเป็นตาลโตนดผู้อยู่ต้นเดียว
รถไฟอกจากกรุงมุ่งสู่เหนือ
สบายเหลือด้วยไม่มีที่จะเหลียว
ไม่มีข้อผูกพันกระสันเกลียว
จึงอาจเที่ยวพักผ่อนหย่อนอารมณ์ ๐
ความรักใน “นิราศร้อน” ถ่ายเทไปสู่ความรักแผ่นดินถิ่นไทย อันเป็นความรักที่ยิ่งใหญ่นิรันดร ท่านเขียนไว้ว่า
๐ ใครอยากให้คนไทยนั้นรักชาติ
ควรจะหาโอกาสให้เที่ยวเตร่
เห็นเมืองไทยเหนือสุดผุดทะเล
ตงจะเหหันจิตคิดคำนึง
ว่าเมืองทองของไทยอันใหญ่หลวง
ควรจะหวงเอาไว้อาศัยพึ่ง
เป็นที่กินที่อยู่จะสู้ตรึง
ไว้จนถึงลุกหลานกาลต่อไป
พิศเพลินภูมิประเทศเขตพายัพ
รู้สึกจับใจจริงยิ่งเมืองไหน
เคยผ่านแล้วแถวถิ่นแผ่นดินไกล
หาเมืองใดที่จะเทียบเปรียบเมืองทอง
ถึงงามตาน่ายลของคนอื่น
ก็ไม่ชื่นเหมือนกับเราเป็นเจ้าของ
เสียงลมพัดน้ำตกวิหคร้อง
เป็นทำนองภาษาไทยไปทั้งนั้น
เห็นป่าไม้เขียวสดจรดขอบฟ้า
มีภูผากั้นอยู่ดูขึงขัน
แม้นมีคู่แล้วจะร่ำพร่ำรำพัน
จะด้นดั้นภูผาไปหานาง ๐
ปิดท้ายด้วยโคลงถามตอบที่ไพเราะ ท่านผู้อ่านเขียนมาถามว่า
“ ลาโง่ตัวหนึ่ง กินหญ้าอยู่ที่ชายป่า ได้ยินเสียงจิ้งหรีดร้องเพราะจับใจ อยากจะใคร่ร้องได้บ้าง จึงไปถามจิ้งหรีดว่า
๐ คึกฤทธิ์คิดลึกพ้น ธรรมดา มนุษย์แฮ
เจนจัดจบวิทยา อาจอ้าง
สงสัยเสพโภชนา ใดเล่า ละพ่อ
“ฤาท่านกินน้ำค้าง จึ่งร้องจับใจ” ๐”
“คึกฤทธิ์ ปราโมช” ตอบว่า
“แต่เผอิญจิ้งหรีดตัวนั้นเป็นจิ้งหรีดชนิดที่กินหญ้า เช่นเดียวกับลาทั้งปวง จึงตอบว่า...
๐ สำเนียงสนาะพร้อง เพียงใด พ่อเอย
เพราะพุดจากหัวใจ พวกพ้อง
อาหารเฉกคนไทย เขาเสพ กันพ่อ
คือว่า “น้ำลูบท้อง” เสพแล้วอิ่มเหลือ ๐
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)